ติดต่อพี่กู้ tel.  081-9574569  Email: Koohatyai@hotmail.com

เทศกาลถือศีลกินเจ

            เทศกาล ถือศีลกินเจ เป็นประเพณี   สืบทอดกันมานานนับหลายร้อยปี ซึ่งจะตรงกับ ขึ้น ๑ค่ำ ถึง ๙ ค่ำ เดือน ๙ นับตามปฏิทินจีน(ชิวอิก-ชิวเก้า)  ซึ่งจะตรงกับเดือนกันยา หรือ ตุลาคม ของไทย   เป็นประเพณีของชาวจีน.ที่มาของประเพณี ถือศีลกินเจ ตามประวัติเล่ากันต่อๆมาว่า  เมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมาได้มีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่ล่องเรือสำเภามาเมืองไทยได้มาขึ้นที่เกาะภูเก็ต ในสมัยนั้น โดยได้ขึ้นที่อำเภอ “กระทู้”ปัจจุบันได้สร้างเป็น( ศาลเจ้ากระทู้) จ.ภูเก็ต ซึ่งชาวจีน แผ่นดินใหญ่นี้มีอาชีพ “เล่นงิ้ว” มีอยู่วันหนึ่ง ชาวจีนทั้งหมดได้เกิดเจ็บป่วยขึ้น และมีชายคนหนึ่งเกิดอาการสั่นสะท้าน(เข้าใจว่าเจ้ามาประทับทรง) เจ้าที่มาประทับทรงได้บอกกับทีมงานที่เล่นงิ้วว่าให้ตั้งหน้าทำบุญ และ “กินผัก” ห้ามกินเนื้อสัตว์เป็นระยะเวลา ๙ วัน อาการเจ็บป่วยทั้งหมดก็จะหายไป หลังจากนั้นอาการสั่นสะท้านของชายผู้นั้นหยุดสั่นและได้หงายหลังล้มตึง (เข้าใจว่าเจ้าออกจากทรง) ทั้งหมดหายจากการตกตะลึง ได้เข้าไปช่วยบีบนวดจนกระทั่งชายคนนั้นรู้สึกตัวขึ้นมา  พร้อมกับความงุนงง ว่าทำไมถึงมาโอบอุ้มตนเอง เพื่อนร่วมงานจึงได้เล่าให้ฟังว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นับว่าเป็นเรื่องดีการที่เราเจ็บป่วยไม่สบายกันทั้งหมด ทำให้ เทพเจ้าจีนท่านสงสารจึงได้ประทับทรงบอกกล่าวให้เราละเว้นจากการกินเนื้อสัตว์ซึ่ง ทีมงานเล่นงิ้วทั้งหมดเชื่อเจ้าจีนจึงได้ละเว้นจากการกินเนื้อสัตว์หันมา “กินผัก” เพียงอย่างเดียว ทำให้ทุกๆคนปฎิบัติตามที่เจ้าจีนได้มาประทับทรงบอกกล่าวให้ละเว้นจากการกินเนื้อสัตว์ หันมารับประทานผักเป็นเวลา ๙ วัน ตามที่เจ้าจีนมาประทับทรงบอกกล่าว นับว่าเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ หลังจากที่ทุกคนปฎิบัติตาม อาการเจ็บป่วยของทุกคนก็หายเป็นปลิดทิ้ง หลังจากนั้นทุกๆปีชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่มาอาศัยทำกินบนผืนแผ่นดินไทย โดยเฉพาะชุดทีมงานเล่นงิ้วทุกคน และ ทุกปี ก็จะทำการกินผัก. นี่คือที่มาของ ประเพณี เทศกาลถือศีลกินเจ หรือ เทศกาล “ถือศีลกินผัก” นั่นเอง(ตามคำบอกเล่าต่อๆกันมา)

       ลัทธิของมหายาน ในพระพุทธศาสนาของจีน พิธีกรรมสักการบูชา( เทพกิวอ๋อง ) มีพระเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ พระโพธิสัตว์ ๒ พระองค์  รวม เทพเจ้า ๙ พระองค์ ท่านทรงมีอำนาจ ตะบะเรืองฤทธิ์ กำหนด ๕ ธาตุ คือ ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุลม  ธาตุไฟ  ธาตุทอง คือ ธาตุที่ยิ่งใหญ่มีอำนาจที่สุด รวม ๕ ธาตุ (ธาตุทองหากเป็นของไทยก็เป็นอากาศธาตุ) ทั่วสารทิศน้อยใหญ่ แบ่งกายเป็นดาวนพเคราะห์ มี....    
     
          ๑/  ดาวไท้เอี้ยงแช คือ  พระอาทิตย์    
          ๒/  ดาวไท้อิมแช คือ  พระจันทร์ 
          ๓/ ดาวฮวยแช  คือ  ดาวพระอังคาร 
          ๔/ ดาวจุ้ยแช  คือ  ดาวพระพุธ 
          ๕/ ดาวบั๊กแช  คือ  ดาวพระพฤหัสบดี
          ๖/ ดาวกิมแช คือ  ดาวพระศุกร์ 
          ๗/ ดาวโห้วแช  คือ  ดาวพระเสาร์
          ๘/ ดาวต่อเกาแช คือ พระราหู
          ๙/ ดาวโกยโต้ยแช คือ พระเกตุ.
      เทศกาล ถือศีลกินเจ  จะมีการถือศีลเจ เป็นเวลา ๙ วัน  โดยทางพิธีกรรมจะเริ่มขึ้น  การขึ้นเสาโกเต็ง(เสาไม้ไผ่) พร้อมตะเกียง ๙ ดวง สว่างไสว บนเสาโกเต็ง พิธียกเสาโกเต็ง จะเริ่มขึ้น ในวันที่ ๓๐ เดือน ๘ ของจีน พร้อมทั้งการประกอบพิธีกรรม อัญเชิญ เทพ กิวอ๋อง และ เทพหยกอ๋อง( หน่ำเต้า ปักเต้า เทพที่ดูแลการเกิด การตาย) และจะเริ่มงานถือ ศีลกินเจ อย่างเคร่งครัดใน วันรุ่งขึ้นของวันที่ ๑ เดือน ๙ ของจีน(เก๋าอั๊วะชิวอิก)  ในเรื่องของเทพเจ้าประจำดาวนพเคราะห์ เชื่อกันว่า พระองค์ทรงผลัดเปลี่ยนกันลงมาตรวจโลก ทั้งกลางวันและกลางคืน บุคคลใดที่ตั้งอยู่ในกุศลธรรม พร้อมถือศีลกินเจ พระองค์ทรงประทานอำนวยพร ความสมบูรณ์พูนสุขให้  บุคคลใดที่ประพฤติ ในทางอกุศล ก็จะถูกลงโทษ... สำหรับผู้ที่ถือศีลกินเจ ครบ ๙ วัน ในวันที่ ๙ ของการกินเจให้จุดธูป ๙ ดอก. ตั้งจิตอธิษฐานให้แน่วแน่โดยการขอพร กับ องค์พระกิวอ๋องไต่เต่ (เทพทั้ง ๙ พระองค์) องค์พระหยกอ๋องส่องเต่ (เง็กเซียนฮ่องเต้  คือ กษัตริย์บนสวรรค์) และเทพทุกพระองค์. ก็จักสมประสงค์สมความปราถนา ครับ  การถือศีลกินเจ มีการปฎิบัติกันมาช้านานแล้ว คือ.....
      ๑/  งดเว้นจากการกินเนื้อสัตว์
      ๒/ รักษาศีล และ รักษาพรหมจันทร์ (ห้ามมีเพศสัมพันธ์ ในระหว่างการถือ ศีลกินเจ)
      ๓/ ทำบุญ ทำทาน โดยการบริจาคเป็นทานไม่ว่า จะเป็น ข้าวสาร ฯลฯ
      ๔/ แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว เพราะชุดขาวทำให้ผู้สวมใส่ เกิดความระมัดระวัง เพราะว่าสกปรกง่ายเท่ากับว่าผู้สวมใส่เสื้อผ้าสีขาว ต้อง ระวังทั้งกาย  วาจา และ ใจ                                      ๕/ งดเว้นจากการกินผักที่มีกลิ่นแรง มี ผักชี กระเทียม หัวหอม กุ๋ยช่าย หลักเกียว ผักพิมเสน ผักมัสตาร์ด  เพราะเป็นสิ่งที่กระตุ้นอารมณ์.   ครับ ประเพณีการถือศีลกินเจ หรือ ถือศีลกินผัก จุดเริ่มต้นมาจาก จังหวัดภูเก็ต  จังหวัดตรัง  ในส่วนของจังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานเทศกาลกินเจ เช่นกัน ครับ นับว่าเป็นการ อภัยทานสูงสุด โดยที่ให้ผู้ร่วมบุญทุกคน ละเว้นจากกินเนื้อสัตว์  เท่ากับเป็นการอภัยทานสัตว์ ทำให้สัตว์รอดพ้นจากการโดนฆ่า(ในช่วงเก๋าหวั่งเจ) ผมว่าได้กุศลผลบุญ เพราะ การกินเจ หนึ่งมื้อ เท่ากับช่วยชีวิตสัตว์ “หมื่นชีวิต” รอดตาย หากเราทุกคนร่วมสร้างบุญ สร้างกุศลในการ ถือศีลกินเจ ปีละครั้ง เพียง ๙ วัน ก็สามารถช่วย ชีวิตสัตว์นับ ล้านชีวิต ให้รอดพ้นจากการ.โดนฆ่า..                           

                        เทศกาลถือ ศีลกินเจ ซึ่งทางหาดใหญ่ได้มีการจัดงานขึ้นทุกปี และ ในแต่ละปีก็จะมีชาวต่างชาติ ทั้ง ชาวมาเลเซีย และ ชาวสิงคโปร์ ต่างก็ได้เดินทางมาเที่ยว ซึ่งจะมีเงินสะพัดนับ “พันล้าน”เท่ากับเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง ทำให้ประชาชนมีรายได้กับการจัดงานขึ้นในแต่ละปีอีกด้วย.                 ในแง่ของความเชื่อสำหรับการประทับทรง หรือที่เขาเรียกกันง่ายๆว่า “การทรงเจ้า”นั้นเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาช้านานนับร้อยๆปีมาแล้ว.
ทำไมร่างทรง หรือ ม้าทรง ต้อง “แทงปาก”เวลาออก “แห่”    
            ต้องทำความเข้าใจกับคำว่าออก “แห่” ในที่นี้ หมายถึงการอัญเชิญเกี้ยวขององค์พระกิวอ๋อง       ไต่เต่ เทพแห่งการกินเจ ออกโปรดลูกหลาน ส่วนใหญ่จะออกแห่ชิวลั๊ก วันที่ 6 ของการ ถือศีลกินเจ นั่นเอง ซึ่งการออกแห่นั้นส่วนใหญ่ เทพที่มาประทับทรงจะมีการนำเหล็กแหลมมาทิ่มแทงปาก หรือ ทิ่มแทงตามร่างกายความหมายนั่นก็คือ เทพที่มาประทับทรงนั้นจะมารับเอาพระเคราะห์ของเหล่ามวลมนุษย์ เทพจะเป็นผู้รับเองทั้งหมดทั้งสิ้น เพราะการที่เทพที่มาประทับทรงนั้นเท่ากับว่าม้าทรง หรือ ร่างทรงนั้นอุทิศร่างกายนี้ให้กับ มวลเทพแล้วทั้งสิ้น สุดแล้วแต่เทพจะทำอะไร ร่างทรง หรือ ม้าทรงก็ต้องรับหน้าที่อันสูงส่งเหล่านี้หมดทั้งสิ้น เท่ากับว่าเป็นการเสริมเพิ่มบารมีความดีให้กับตนเอง และครอบครัวนั่นเอง ร่างทรง หรือ ม้าทรง ต้องถือศีล กินเจ อย่างเคร่งครัดมากกว่า คนปกติธรรมดา การที่ร่างทรง หรือ ม้าทรง แทงเหล็กแหลมตามร่างกายนั้น ไม่ใช่ แทงกันแบบ เท่ๆ ทุกอย่างมีที่มาที่ไปทั้งสิ้น ปัจจุบัน ม้าทรง หรือ  ร่างทรงนับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งสุดแล้วแต่การปฏิบัติของแต่ละคน ความเข้มขลังของแต่ละองค์ แต่ละท่านอยู่ที่ร่างทรง หรือ ม้าทรงปฏิบัติ ณ.จุดนี้ผู้ที่ยึดถือแนวทางปฏิบัติเท่านั้น ทราบดีกว่าใครทั้งปวง “พระพึ่งคน คนพึ่งพระ” นี่เป็นคำพูดชัดๆจากปาก ฮ่วดกัว (ผู้รับใช้พระ เวลาพระมาประทับทรง)  มักจะพูดอยู่เสมอ.
กู้ หาดใหญ่ รายงาน.